การทดสอบความเสถียรและการรับน้ำหนัก Peak Design Travel Tripod

การออกแบบ Peak Design Travel Tripod เป้าหมายคือการทำขาตั้งกล้องที่พกพาง่ายที่สุดแต่ยังคงประสิทธิภาพที่เหนือชั้นเอาไว้อยู่ จะเห็นว่า “Pro-level” เป็นคำที่ทาง Peak Design คิดขึ้นมาซึ่งความหมายจริงๆคือ

  • ขาตั้งกล้องที่รองรับกล้องและอุปกรณ์ระดับมือโปรได้อย่างปลอดภัย เช่น กล้อง Full Frame ติดเลนส์ 70-200
  • ขาตั้งกล้องที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพได้คุณภาพสูงและคมชัดสุดๆ
  • ขาตั้งกล้องที่กางออกมาอยู่ในระดับสายตาคนส่วนใหญ่ใช้ได้
  • ขาตั้งกล้องที่ประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือเหนือกว่าขาตั้งกล้องรุ่นใหญ่ในท้องตลาดที่ตากล้องระดับโปรนิยมใช้กัน

ซึ่งมาตราฐานเหล่านี้เป็นเรื่องของแต่ละคนเพราะกล้องและเลนส์นั้นมีความหลากหลายทั้งในเรื่องของขนาดและน้ำหนัก และการที่คุณจะได้ภาพถ่ายที่คมชัดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่ค่อนข้างละเอียดคือ ทางยาวโฟกัส แรงลม ลักษณะของพื้นที่คุณยืนอยู่ แต่หนึ่งสิ่งที่คุณสามารถทำได้และควบคุมได้แน่นอนคือการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของขาตั้งกล้องแต่ละแบบให้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการ

ในบทความนี้จะมาพูดถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ Peak Design ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมหลักๆคือเรื่องความเสถียรและการรับน้ำหนักของ Peak Design Travel Tripod โดยการเปรียบเทียบกับขาตั้งกล้องเกรดสูงในท้องตลาด ซึ่งการทดสอบนี้เป็นส่วนสำคัญมากในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และข้อมูลสำคัญที่เชื่อถือได้เพื่อใช้กับเรื่องการเคลมสินค้า

รู้จักกับ David Berryrieser แห่ง The Center Column

นับว่าโชคดีมากๆบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นแนวหน้าของโลกในการทดสอบความเสถียรของขาตั้งกล้องอยู่ใน Peak Design นี่เอง นั่นคือคุณ David Berryrieser นักฟิสิกส์จาก Stanford และผู้ก่อตั้ง The Center Column

The Center Column เกิดมาจากการที่คุณ David ต้องการหาขาตั้งกล้องที่ดีที่สุด เขารู้ว่าแม้จะมีการีวิวเปรียบเทียบพูดคุยกันเกี่ยวกับขาตั้งกล้องมากแค่ไหน มันก็ยังไม่ชัดเจนและเป็นวิธีที่ดีมากพอสำหรับการวัดความเสถียรของขาตั้งกล้อง ด้วยเหตุนี้เองเขาจึงใช้ความรู้ฟิสิกส์ที่ได้ร่ำเรียนมา ในการหาคำตอบออกมา

อย่างแรกอ่านรีวิวของคุณ David

รีวิว Peak Design Travel Tripod โดยคุณ David ซึ่งถือว่าสมบูรณ์ที่สุดทั้งเรื่องการทดสอบความเสถียรและประสิทธิภาพ ในบทความนี้จึงขอนำเอาข้อมูลจากรีวิวคุณ David มาใช้ในการอ้างอิง ก็เดี๋ยวมาเริ่มกันเลยครับ

ความเสถียร (Stability) VS ความกะทัดรัด (Compactness)

คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักฟิสิกส์เพื่อที่จะเข้าใจไอเดียทั้งหมด ขาตั้งกล้องอันใหญ่จะมีความเสถียรกว่าขาตั้งกล้องอันเล็กอยู่แล้ว ในบางสถานการณ์อย่างเช่นการถ่ายภาพในสตูดิโอขนาดและน้ำหนักของขาตั้งกล้องอาจไม่สำคัญมาก แต่เมื่อเป็น Travel Tripod หรือขาตั้งกล้องสายท่องเที่ยวที่ต้องพกพาเรื่องขนาดและน้ำหนักถือว่าจำเป็นสุดๆ เพราะฉะนั้นเมื่อคุณต้องการจะเปรียบเทียบความเสถียรของ Travel Tripod ก็ควรที่จะเปรียบเทียบกันในเรื่องของขนาดและน้ำหนักจะเหมาะสมที่สุด

David ได้ทำการคิดค่า Volume-Weighted (VW) ขึ้นมาเองตามตารางด้านล่างโดยวิธีการทดสอบความเสถียรจะอยู่ด้านล่างสุด แต่ก่อนอื่นมาเริ่มด้วยผลการทดสอบของเขากันก่อน

ค่า Volume-Weighted Stiffness ของ Peak Design Travel Tripod กับขาตั้งกล้องแบรนด์อื่นๆ

กรอบสีน้ำเงิน = Peak Design Travel Tripods
กรอบสีแดง = ขาตั้งกล้อง 3 รุ่นที่ได้รับความนิยมที่เอามาเปรียบเทียบ ไม่ได้บอกว่าคุณควรจะเทียบแค่ 3 รุ่นนี้เท่านั้นเพียงแต่เป็น 3 รุ่นที่มีปริมาณยอดขายที่สูงและยังเป็นรุ่นที่ได้รับการแนะนำมาจากร้านค้าตัวแทน ช่างภาพ และนักรีวิวจาก Youtube อีกด้วย และยังมีความใกล้เคียงกับ Peak Design Travel Tripod ในเรื่องของจำนวนท่อนขา ขนาดตอนพับ และความสูงตอนกางออกมา

อย่างที่คุณเห็น Peak Design Travel Tripod มีค่า Volume-Weighted (VW) ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบขาตั้งกล้องแบรนด์อื่น

  • จากภาพจะโชว์ขาตั้งกล้องระดับสูงทั้งหมด 20 รุ่นจาก 26 รุ่น
  • ขาตั้งกล้องรุ่น LeoFoto ในตารางนี้จะไม่มี Center Column รวมอยู่ด้วย นั่นหมายถึงการปรับความสูงเขาจะสั้นลงกว่าปกติ ซึ่งขนาดตอนพับขาตั้งจริงๆก็จะมีความยาวมากกว่าของ Peak Design Travel Tripod
  • ราคาของรุ่น Gitzo, RRS, และ LeoFoto ที่อยู่ในตารางยังไม่ได้รวมหัวบอลเข้าไปด้วย หากรวมด้วยราคาก็จะเพิ่มอีกประมาณ $100-$400 ขณะที่ของ Peak Design Travel Tripod รวมหัวบอลมาแล้ว
  • Peak Design Travel Tripod Aluminum ที่นำมาทดสอบยังเป็นรุ่นก่อนขายจริง ฉะนั้นข้อมูลสเปคต่างๆจะมีความแตกต่างไปจากตัวขายจริงเล็กน้อย แต่ยังคงมีความสูงและปริมาตรเท่ากับรุ่น Peak Design Travel Tripod Carbon

ค่าความแกร่ง (Stiffness) ของ Peak Design Travel Tripod เมื่อเทียบกับขาตั้งกล้องแบรนด์อื่น

รายชื่อขาตั้งกล้องเซตเดิมโดยเรียงตามค่าความแกร่ง

  • เช่นเคย นี่เป็นขาตั้งกล้องอันดับ 1-20 จากทั้งหมด 26 โดย Peak Design Travel Tripod ทั้ง 2 รุ่นอยู่ที่กลางตาราง
  • ระดับค่าความแกร่งคำนวณโดยที่ไม่ได้นำหัวขาตั้งมาคิด เนื่องจากขาตั้งกล้องที่ราคาสูงๆส่วนใหญ่ในตารางไม่ได้มีหัวขาตั้งมาทดสอบด้วย หัวบอลของ Peak Design Travel Tripod ประสิทธิภาพสูงมากเมื่อเทียบกับหัวบอลของแบรนด์อื่น ดังนั้นในทางปฏิบัติค่าความแกร่งโดยรวมของ Peak Design Travel Tripod นั้นจะสูงกว่าตารางนี้เล็กน้อยเมื่อเทียบกันจริงๆ

ก็คือจริงๆแล้ว Peak Design Travel Tripod ไม่ได้มีค่าความแกร่งที่สูงที่สุด แต่ก็คือถือว่าอยู่ในระดับต้นๆพอสูสีเลยทีเดียว จำไว้ว่าการวัดค่าความแกร่งจะไม่มีความหมายหากไม่มีการใช้งานจริง ขาตั้งกล้องทุกรุ่นในตารางนี้รองรับกล้อง Full Frame ที่ติดเลนส์ 70-200 ได้และยังสามารถถ่ายภาพออกมาได้คมชัดอีกด้วย

หากอ้างอืงจากคุณ David ขาตั้งกล้องใดถ้ามีค่าความแกร่งเกิน 300 ถือว่าใช้งานดีมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นถ้าค่าอยู่ระหว่าง 400 500 600 ล่ะ? ด้วยค่าที่คำนวณออกมาเกินมาตราฐานค่อนข้างสูงทำให้ขาตั้งกล้องเหล่านี้แม้ว่าจะติดกล้องและอุปกรณ์ที่ใหญ่โต ก็ยังสามารถถ่ายภาพออกมาคมชัดได้ในหลายๆสถานการณ์

เรื่องการพกพา (Volume) ของ Peak Design Travel Tripod ถือว่าดีที่สุดในตารางนี้แล้ว

  • ย้ำอีกครั้ง! Peak Design Travel Tripod รุ่น Aluminum เป็นรุ่นทดลองก่อนขายจริงมีสเปคใกล้เคียงกับรุ่น Carbon Fiber ซึ่งเป็นรุ่นที่อยู่บนสุดของตาราง!

ความสูง (Height) เมื่อกางออกมาของ Peak Design Travel Tripod เทียบกับขาตั้งกล้องแบรนด์อื่นๆ

  • Peak Design Travel Tripod รุ่น Aluminum ติดใน 5 อันดับแรกซึ่งมีสเปคเดียวกันกับรุ่น Carbon Fiber

ความสูงเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกซื้อ Travel Tripod เชื่อว่าการมีขาตั้งกล้องที่สามารถกางออกมาในระดับสายตาได้เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะเป็นสิ่งสำคัญในการใช้งาน และการที่ต้องยืนค่อมขาตั้งกล้องเวลาใช้งานก็เป็นอะไรที่น่าเบื่อมาก แต่ด้วยการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของ Peak Design Travel Tripod ช่วยให้เอาชนะข้อจำกัดเหล่านี้ได้

Peak Design Travel Tripod มีราคา (Price) แพงแต่ก็ไม่ได้แพงที่สุด

สุดท้ายเป็นเรื่องของราคาในแต่ละรุ่นตามตาราง ย้ำอีกครั้งว่าขาตั้งกล้องรุ่นที่อยู่เหนือ Peak Design Travel Tripod ขึ้นไปจะไม่ได้รวมหัวบอลมาด้วย ซึ่งราคาจะต้องเพิ่มขึ้นอีก $100-$400.

รุ่น Aluminum ราคา $350 ส่วนรุ่น Carbon fiber ราคา $600 ซึ่ง Peak Design Travel Tripod ไม่ได้เป็นขาตั้งกล้องที่ราคาถูกที่สุด แต่ที่ราคาสูงนั่นก็เพราะว่า Peak Design Travel Tripod ใช้เวลาในการพัฒนาถึง 4 ปี ดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ประกอบด้วยชิ้นส่วนที่ต่างกันถึง 336 ส่วน หลายๆส่วนได้มีการทดสอบคุณภาพมาอย่างดีเกินกว่ามาตราฐานของการออกแบบขาตั้งกล้องแบบทั่วๆไป และในกระบวนการผลิต Peak Design Travel Tripod รวมถึงสินค้าทุกตัวของ Peak Design ปลอดคาร์บอน 100% รวมไปถึงการรับประกันตลอดอายุการใช้งานของสินค้า

จำไว้ว่ามันมีความเกี่ยวข้องกันทั้งหมด

นี่คือสิ่งที่ Peak Design สามารถบอกได้ซึ่งคะแนนข้างต้นไม่ได้สมบูรณ์ที่สุด ขาตั้งกล้องทุกรุ่นสามารถรองรับ D5+70-200 ได้และยังให้คุณถ่ายภาพได้คมชัดในหลายสถานการณ์ ในขณะที่ไม่มีขาตั้งกล้องรุ่นไหนในที่จะสามารถทำให้คุณถ่ายภาพได้คมชัดได้ทุกสถานการณ์หรือรองรับได้ทุกอุปกรณ์ ฉะนั้นขาตั้งกล้องรุ่นที่ได้คะแนนสูงกว่าจะช่วยให้คุณถ่ายภาพออกมาได้คมชัดกว่าและพกพาได้สะดวกกว่ารุ่นที่คะแนนต่ำ

Weight rating ไม่ได้มีประโยชน์ขนาดนั้น

คำถามเกี่ยวกับ Weight capacity หรือ Weight rating นั้นไม่ได้หาคำตอบง่ายๆ ในขณะที่ Peak Design Travel Tripod โฆษณาไว้ว่าสามารถรับน้ำหนักได้ 20 lbs (9.1 kg) คุณสามารถวางอุปกรณ์หนักประมาณ 80 lbs ไว้บนขาตั้งแบบไม่มี Center column ได้ แต่ภาพที่ถ่ายออกมาจะคมชัดน้อยลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณกำลังถ่ายด้วยเลนส์ 400 mm และเจอลมแรง 40 mph

จากสถิติผู้ผลิตขาตั้งกล้องหลายรายรวมถึงของ Peak Design ด้วย Weight Capacity ไม่ได้มีความหมายขนาดนั้น เพราะไม่มีมาตราฐานในการวัดมันออกมา และผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อธิบายออกมา แล้วพวกเขานำตัวเลขมาโฆษณาได้อย่างไร?

แต่จริงๆแล้ว Weight Capacity คือการวัดว่าขาตั้งกล้องมีความแกร่งหรือความมั่นคง (stiff/stable) เพียงใด ปัญหาคือความแกร่งของขาตั้งกล้องไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะถ่ายทอดเป็นตัวเลขเดียวที่เข้าใจได้

นั่นคือเหตุผลว่าทำไม Peak Design ถึงรักสิ่งที่ David ทำใน Center Column เขาสร้างวิธีการที่ชัดเจนสำหรับการทดสอบความเสถียรของขาตั้งกล้อง เขานำผลลัพธ์เหล่านั้นมาวิเคราะห์ พิจารณาบริบทที่แตกต่างกันทั้งหมดและเคสการใช้งานขาตั้งกล้องต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้คือมุมมองแบบองค์รวมของสิ่งที่ขาตั้งกล้องทำได้ดีหรือไม่ดี เมื่อเทียบกับขาตั้งกล้องอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน

มาเริ่มดูวิธีการทดสอบกัน

ความเสถียร (Stability) = ความแกร่ง (Stiffness) และ ความหน่วง (Damping)

ความสามารถของขาตั้งกล้องในการรองรับกล้องของคุณสามารถวัดได้ 2 วิธี : ความแกร่งและความหน่วง

ความแกร่ง (Stiffness) : ความสามารถของขาตั้งกล้องในการต้านการเคลื่อนไหวที่เกิดจากแรงภายนอก

มันคือสิ่งที่ทำให้กล้องอยู่นิ่งๆทั้งๆที่มีแรงไปต้านมัน เช่น แรงโน้มถ่วง แรงลม

ความหน่วง (Damping) : ความสามารถของขาตั้งกล้องในการกลับมานิ่งหลังจากที่มีการขยับไป

ไม่มีขาตั้งกล้องไหนที่สามารถรับกล้องให้อยู่นิ่งในทุกสภาวะได้ เมื่อคุณจับกล้องหรือไปกระแทกโดนขาตั้งกล้องหรือเจอลมพัดใส่แรงๆกล้องคุณก็จะขยับแล้ว การเคลื่อนไหวเพียงนิดเดียวก็ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนได้ และความหน่วงวัดได้จากการที่ขาตั้งกล้องหยุดการสั่นสะเทือนได้เร็วเพียงใด

การทดสอบความแกร่ง (Stiffness) และ ความหน่วง (Damping)

ดังนั้นคุณจะวัดความเสถียรของขาตั้งกล้องให้แม่นยำในขาตั้งกล้องยี่ห้อและรุ่นต่างๆได้อย่างไร? ถ้าคุณเดาว่ามันคือฟิสิกส์เบื้องต้นอย่างการกวัดแกว่งอย่างง่าย (Harmonic Oscillators) ใช่คุณคิดถูก

  • ของน้ำหนักมาก (ทั้งหนักและรูปร่างใหญ่จะมีความเฉื่อยเชิงมุมสูง) วางอยู่บนขาตั้งกล้อง
  • น้ำหนักที่ถูกกระแทกทำให้เคลื่อนที่ไปมาอย่างรวดเร็ว (กวัดแกว่ง)
  • วัดความเร็ว (ความถี่) ของการกวัดแกว่ง ซึ่งจะช่วยให้คุณคำนวณค่าความแกร่งได้
  • วัดเวลาที่ใช้ในการกวัดแกว่งจนหยุด (อัตราการสลายตัว) ซึ่งจะช่วยให้คุณคำนวณค่าความหน่วงได้
  • น้ำหนักที่ถูกกระแทกในแนวตั้งเพื่อวัด ค่าความแกร่ง/ค่าความหน่วง แกน Pitch (pitch stiffness/damping)
  • น้ำหนักที่ถูกกระแทกในแนวนอนเพื่อวัด ค่าความแกร่ง/ค่าความหน่วง แกน Yaw (yaw stiffness/damping)
  • การทดสอบแต่ละครั้งจะทำหลายครั้งและผลลัพธ์จะถูกเฉลี่ย

ผลลัพธ์จากการทดสอบขาตั้งกล้อง Peak Design ตัวต้นแบบ

และนี่คือขาตั้งกล้องจาก MeFoto

จากการเปรียบเทียบ คุณสามารถเห็นด้วยตาเปล่าเลยว่าขาตั้งกล้อง Peak Design ตัวต้นแบบ (ภาพบน) ในแนวนอนแกว่งเร็วกว่าของ MeFoto อย่างเห็นได้ชัด (ภาพล่าง) นั่นหมายถึงมันมีความแกร่งที่มากกว่า ขาตั้งกล้อง Peak Design ตัวต้นแบบหยุดเคลื่อนไหวเร็วกว่าของ MeFoto อย่างเห็นได้ชัด นั่นหมายถึงมันมีความหน่วงที่ดีกว่า สรุปก็คือขาตั้งกล้อง Peak Design ตัวต้นแบบมีความแกร่งโดยรวมที่ดีกว่านั่นเอง

รายละเอียดเพิ่มเติมของ Peak Design Travel Tripod (คลิก)

ที่มา : support.peakdesign.com/hc/en-us/articles/360033120272-Testing-the-Travel-Tripod-for-Stability-and-Weight-Capacity

There are no products